Tumgik
#ictsilpakorn
tity-panda · 6 years
Photo
Tumblr media
รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย รุ่นพี่ที่บริษัท55555 #fellowship #silpakorn #silpakornuniversity #ictsilpakorn #ictnitade #newgenairways #cabincrew #flightattendant #crewlife (at Newgen Airways ;training Academy)
0 notes
sasawatworks-blog · 11 years
Photo
Tumblr media
ความลำบากยากเย็นในช่วงชีวิตของนายบิว / ธนพฤทธิ์ ประยูรพรหม / 2013
จากห้วงประสบการณ์ส่วนตัวเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาที่เติบโตมาพร้อมกับนิตยสารเสริมสร้างความฝันอย่าง A Day ผู้เขียนเองเป็นหนึ่งในผู้ที่เชื่อว่าเส้นทางชีวิตข้างหน้าของตนแม้ไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบแต่ก็คงไม่มีขวากหนามให้ต้องฝ่าฟันมากนัก เนื่องด้วยการอ่าน อะ เดย์ แต่ละเล่ม ล้วนคัดเอาผู้ประสพความสำเร็จในชีวิตมาเล่าประสบการณ์ ซึ่งดู ๆ แล้วก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไร แต่แท้ที่จริงแล้วไม่มีความสำเร็จใดได้เกิดขึ้นโดยปราศจากการทำงานหนัก
ผู้เขียนเริ่มมารู้สึกถึงความไม่มั่นใจในศักยภาพของตนเองเมื่อครั้งเรียนปริญญาโทแล้ว ทุกชั่วโมงที่เรียนจบจะตั้งคำถามกับเพื่อนร่วมคลาสเสมอถึงระดับปัญญาที่ถูกอาจารย์ตราหน้าว่าโง่ ถามอะไรก็ตอบไม่ได้เสมอ จนกระทั่งทำวิทยานิพนธ์จบ ก็ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเก่งพอจะเดินทางสู่ปลายฝั่งฝันได้หรือเปล่า
ว่ากันว่าในห้วงเวลาหนึ่งของชีวิต มนุษย์ที่ไม่หลงตัวเองจะต้องเคยประสบภาวะความเคว้งสักครั้ง คำถามมากมายเกี่ยวกับอนาคต ความฝัน แรงปรารถนาที่ไม่สอดคล้องกับตัวตน เราจะไปถึงจุดนั้นได้จริงหรือ
ธนพฤทธิ์ ผู้กำกับ "ความลำบากยากเย็นในช่วงชีวิตของนายบิว" แสดงความรู้สึกไม่มั่นใจในเส้นทางที่ตนเองเลือกเดินว่าตนดีพอที่จะไปถึงเป้าประสงค์ที่วางไว้หรือเปล่า  หนังเล่าเรื่องของบิว (ธนพฤทธิ์เล่นเอง) นักศึกษาสาขาภาพยนตร์ที่มีโครงการถ่ายทำหนังสั้นเกี่ยวกับมนุษย์ใต้ดินที่พยายามหาทางออกมาสู่ภาคพื้นดิน เขาวางแผนงานจากภาพในหัวไว้อย่างใหญ่โต มีทั้งต้องการเปลี่ยนพื้นที่แถวรถไฟฟ้าช่องนนทรีให้กลายเป็นอุโมงค์ทางออกขนาดยักษ์ ไหนจะพลอตเรื่องไซไฟอลังการงานสร้าง ทว่าเมื่อหันกลับมามองความจริง เงินทุนที่มีบวกกับความสามารถที่ตนเองก็ยังคลางแคลงใจ โปรดัคชั่นของหนังจึงออกมาดูง่อย ขาดการจัดการและวางแผน ให้นักแสดงใส่เสื้อกันฝนจากเซเว่นด้นสดบทสนทนาโดยที่ทีมงานก็ไม่รู้ว่าบิวต้องการอะไรกันแน่
หนังเล่าสลับเหตุการณ์การถ่ายทำภาพยนตร์กับบทสนทนาเรื่องชีวิตของบิวและแฟนสาวนามข้าวฟ่าง ธนพฤทธิ์เลือกเทคนิคการถ่ายทำด้วยการตั้งกล้องแช่ภาพสลับกับแฮนด์เฮลด์บ้างในบางฉากเมื่อต้องมีการเดินพูดคุย แม้เทคนิคจะไม่หวือหวาแต่เขาก็สอดแทรกความกวนเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะฉากหน้าเซเว่น เมื่อตัวบิวและเพื่อนนั่งคุยที่แบคกราวด์ของภาพ ก่อนที่เพื่อนอีกสองคนจะเดินมานั่งคุยในระยะ foreground เสียงเรื่องเล่าทั้งหมดกลายเป็นเสียงของสองคนนี้แทน เราไม่รู้ว่าบิวคุยอะไรกันแน่เว้นแต่เมื่ออ่านซับไตเติลตาม เป็นการกวนผัสสะการรับรู้ของคนดูให้งงและสงสัยเล่นว่าเสียงใครเป็นเสียงไหน
อย่างไรก็ดี งานด้านภาพและโปรดัคชั่นไม่ใช่จุดเด่นในหนังเรื่องนี้ สิ่งที่ชวนให้จดจำที่สุดคือความคิดที่ถูกขับเค้นออกมาจากความรู้สึกของธนพฤทธิ์ผ่านปากของบิว ความคิดที่สะท้อนภาวะของคนในเจเนเรชันนักศึกษาปัจจุบันที่ต่างมีฝัน และต่างล้วนคิดว่าตัวเองนั้นแน่ กูมีของ กูเก่ง กูคือแถวหน้าของเด็กในระดับเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้ว พวกเขาเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ในห้วงความคิดของบิว เสียงก้องดังทั่วสมองว่า พวกเขามันก็แค่เด็กที่โตมาในยุค DSLR ที่ใครคิดจะทำหนังก็เป็นเรื่องง่าย พวกเขาก็แค่เด็กยุคที่ใครก็สามารถเป็นคนดังได้ข้ามคืนและพร้อมจะถูกลืมในสองสามวันต่อมา พวกเขามีเก่งจริงหรือ มีความสามารถเพียงพอที่จะเป็ฯคลื่นลูกใหม่กลบคืนลูกเก่าได้
มีหนังโดยนักศึกษาน้อยเรื่องที่กล้าพูดความคิดความรู้สึกของตนเองออกมาอย่างซื่อตรง เพราะแน่นอน การทำหนังย่อมต้องมีอีโก้ในระดับหนึ่งเพื่อตัดสินใจว่าจะให้มีอะไรในหนังของตนบ้าง จะมีสักกี่คนที่กล้ายอมรับว่าไม่มั่นใจว่าตนเอง กูมันไม่เก่ง กูมันกระจอก!!!
แม้ธนพฤทธิ์และบิวจะไม่มั่นใจว่าตนเองดีพอที่จะทำหนังที่ดี (ในสายตาคนอื่น) สักเรื่องได้หรือไม่ แต่ตัวหนังเองได้สะท้อนให้เห็นทั้งพลังของประเด็นและตัวความสามารถของธนพฤทธิ์เอง ตลอดทั้งเรื่องธนพฤทธิ์ใช้การด้นสดบทสนทนาและหลายครั้งเป็นการ monologue ในแต่ละซีนมีความยาวค่อนข้างมากแต่ตัวเขาซึ่งเป็นคนคุมประเด็นเรื่องที่พูดก็สามารถด้นและต่อบทกับนักแสดงคนอื่นได้โดยไม่มีความตะกุกตะกักและตรงประเด็น ไม่วนไปมาในอ่างจนเรื่องไม่ไปไหน ซึ่งเขาเคยแสดงความสามารถนี้โดยไม่รู้ตัวในหนังสั้นเรื่องก่อนหน้านี้ที่ถ่ายโดยไม่ตั้งใจเรื่อง "ทองกวาว" ซึ่งทั้งเรื่อง ธนพฤทธิ์ด้นสดเรื่องราวคนเดียวทั้งเรื่องยาวร่วมสิบนาทีโดยไม่หลงประเด็น น่าอัศจรรย์มาก
ประเด็นในเรื่องค่อย ๆ กัดกร่อนตัวละครในจมลึกลงสู่ห้วงแห่งความสิ้นหวัง ในขณะเดียวกัน เรื่องราวเหล่านั้นก็กระแทกกลับมาสู่คนดูอย่างหนักหน่วง ยิ่งเมื่อเราได้เดินผ่านวัยและช่วงเวลาที่เคยมีเรื่องราวเฉกเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน มันคือความทุกข์ คือประสบการณ์ร่วมอันแสนระทม แสงปลายทางเดินมืดลงโดยไม่รู้ตัว เมื่อหนังจบเราพบความอื้ออึงในใจอยู่หลายสิบนาที
นี่อาจไม่ใช่หนังที่ทุกคนพร้อมที่จะรัก ความยาว 67 นาทีถือเป็นกำแพงสำหรับคนดูหน้าใหม่หลายคน ซึ่งชวนสงสัยไม่น้อยว่าคนในรุ่นเดียวกับธนพฤทธิ์หากได้ดูแล้วจะคิดและรู้สึกกับหนังเรื่องนี้อย่างไร จะอินเพราะมีประสบการณ์ร่วมกันหรือนั่งขำในความคิดมากเกินไปกันแน่
อย่างไรก็ดี นี่คือหนึ่งในสิบหนังสั้นไทยสำหรับปี 2013 ของผมแน่ ๆ  หนังนักศึกษาที่สะท้อนภาวะ melancholic ได้เยี่ยมยอดเช่นนี้จะมีสักกี่เรื่องกันเชียว
1 note · View note