Tumgik
arturhiktur · 5 years
Photo
Tumblr media
0 notes
arturhiktur · 5 years
Text
นิทานอีสป (ตอนที่สาม)
นักปราชญ์บางท่านให้ความเห็นว่า นิทานของอีสปได้เค้าโครงมาจากเรื่องเล่าเก่า ๆ ของกรีก อินเดีย อาระเบีย หรืออาจมาจากเปอร์เซียและดินแดนอื่น ๆ โดยอีสปนำมาดัดแปลงเล่าใหม่  
นิทานของอีสปเป็นนิทานที่เล่าปากเปล่าไม่มีการจัดบันทึกเป็นหลักฐาน จนศตวรรษต่อ ๆ มาจึงได้มีผู้บันทึกเอาไว้ เช่นจะเห็นได้จากหลักฐานของแผ่นปาปิรัสอียิปต์โบราณ เป็นต้น
จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1400 ได้มีการแปลนิทานอีสปจากภาษาลาตินเป็นภาษาอังกฤษ  นับแต่นั้นมาชาวยุโรปก็ได้แปลงนิทานอีสปให้เข้ากับสภาพสังคมบ้านเมืองของตน แต่คติและข้อคิดอันเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องยังคงได้รับการรักษาเอาไว้
นักเดินทางกับแซเทอร์
ชายนักเดินทางคนหนึ่งหลงทางในป่า กลางฤดูหนาว และได้พบกับแซเทอร์(อมนุษย์ชนิดหนึ่งครึ่งบนเป็นคน แต่มีขาสองข้างเป็นขาแพะ)ตนหนึ่ง ซึ่งสัญญาว่าจะช่วยพาเขาออกจากป่า โดยจะพาชายผู้นั้นไปพักที่บ้านของแซเทอร์ตลอดคืนและจะพาเขาออกจากป่าในตอนเช้า
ขณะที่ชายผู้นั้นกำลังเดินไปกับแซเทอร์ เขาก็เป่าลมใส่มือของเขา
“นั่นเจ้าทำอะไร”แซเทอร์สงสัย
“มือของข้าเย็นเฉียบ ข้าจึงเป่าไออุ่นให้มัน” ชายนักเดินทางตอบ
ต่อมา เมื่อมาถึงบ้านของแซเทอร์ และแซเทอร์ยกชามข้าวต้มร้อนๆมาให้ชายนักเดินทาง เขาก็เป่าลมใส่ลงไปในชามข้าวนั้น
“นี่เจ้าทำอะไรน่ะ”แซเทอร์สงสัย
“ข้าวต้มมันร้อนเกินไป ข้าจึงเป่าให้มันเย็นลง”ชายนั้นตอบ
“เจ้าจงไปเสียให้พ้น”แซเทอร์ไล่เขา”ข้าจะไม่อยู่ร่วมบ้านกับคนที่มีทั้งลมร้อนและลมเย็นในลมหายใจเดียวกัน”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่มีความแน่นอนใดๆจากวาจาของมนุษย์
0 notes