Tumgik
sarutc · 9 years
Photo
Tumblr media
Video Traffics จะมีขนาด 72%  ในปี 2015 จากเดิม 55% (2014) 
Original infographics from cisco
0 notes
sarutc · 9 years
Photo
Tumblr media
IP Traffics ของ APAC นี่ยังแค่ 1.7MB มีแนวโน้มที่ความเร็วเฉลี่ยจะวิ่งไปแตะที่ 3.5MB  ขณะที่ทั้งโลกนี่ปี 2019 จะอยู่ที่ 4MB   
ข้อมูลจาก Cisco Visual Network Index
original Infographic link
0 notes
sarutc · 9 years
Text
Let and (( ))
useful linux command 
use it as simple calculator
$ let “romeo=1+1″
$ echo ${romeo}  
result = 2
$ (( romeo=(2+1)+3*20 ))
$ echo $romeo
result = 63
0 notes
sarutc · 9 years
Photo
Tumblr media
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 การออกแบบเว็บไซต์ยังเหลือช่องว่างให้พัฒนาอีกมากมาย ส่งผลให้ควาบคืบหน้าเพียงเล็กน้อยก็เทียบเท่ากับการได้รับออกซิเจนเพิ่มมาอีกขวดระหว่างปีนขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์  
จากหนังสือ one click (สำนักพิมพ์ WeLearn)
0 notes
sarutc · 9 years
Text
แง่คิดในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
กับเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่แค่ว่าทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกันไม่น้อยกว่าวันละ 8 ชั่วโมงทุกวัน ไม่เพียงแต่พูดคุยกันเรื่องงาน หากแต่จะต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อกันด้วย แม้จะมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด สู้ปล่อยตัวให้สบาย สบายไม่ได้ พบกันถือว่ามีวาสนาต่อกัน อยู่ร่วมกันก็ยิ่งควรจะ เข้าใจ ให้อภัย และใส่ใจซึ่งกันและกัน กับหัวหน้า บางครั้งก็เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง เขามักจะมาต่อว่ามากกว่าจะมายอมรับ สิ่งที่เขาให้ทำก็มักจะเหมือนกับว่าไม่รู้จักจบจักสิ้น หากลองกลับกันให้เราไปอยู่ในตำแหน่งที่เขายืนอยู่ เราคงจะเข้าใจเขาได้ง่ายหน่อย และให้อภัยเขาได้ กับหัวหน้า ไม่จำเป้นจะต้องเป็นคู่ปรับกัน แต่ต้องรู้จักที่จะแบ่งปัน เรียนรู้ และเติบโตไปด้วยกัน กับลูกน้อง เป็นเพราะรู้จักให้ ผลตอบแทนก็กลับมามาก กับลูกน้องไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์เฉพาะเบื้องบนกับเบื้องล่างเท่านั้น ยังมีความสัมพันธ์ทางด้านหุ้นส่วนอยู่ด้วย รู้จักเข้าใจและให้อภัยซึ่งกันและกัน หากรู้จักยอมรับมากกว่าที่จะจับผิด ให้รอยยิ้มมากกว่าสายตาอันตำหนิติเตียน ผลตอบแทนที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับก็จะยิ่งมากตามไปด้วย พระราชดำรัสในหลวง ถึงคนทำงาน กับเพื่อนร่วมงาน กับหัวหน้า กับลูกน้อง
ตอนทำงานอยู่กับบริษัทเก่า แห่งหนึ่ง  ผู้บริหารเคยให้การ์ดใบนึง เป็นของขวัญปีใหม่กับพนักงานทุกคน ในการ์ดเป็นพระราชดำรัส ของในหลวงเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน ตามข้อความย่อหน้าแรก
0 notes
sarutc · 9 years
Text
ignore case search in vi editor
Today tip
which  “SED” command you can use  s/[reg pattern]/i   for search / replace ignore case  but when you want to search on vi  you have to use \c on any position of string 
example use vi editor open mysql dump file and search “InnoDB” 
/innodb/i <--- wrong 
/\cinnodb  <--- correct
0 notes
sarutc · 9 years
Text
การให้บริการที่ดี และสร้างความประทับใจกับลูกค้า
เอามาจากหนังสือ “ริชาร์ด แบรนสัน like a vergin” ของสำนักพิมพ์ ปราน แปลโดย นรา สุภัคโรจน์  หนังสือเกี่ยวกับการสร้างธุรกิจ อ่านสนุกดีนะครับ ลองหาอ่านดูได้  เป็นบางส่วนที่หยิบมา เรื่อง การสร้างความประทับใจแรก แล้วอย่าพังในครั้งที่ 2 ซะละ
อ่านแล้วรู้สึกว่ามันใช่มาก และเป็นส่วนง่ายๆ ที่ทำยากหากไม่เข้าใจงานบริการ และไม่เข้าใจความรู้สึกของลูกค้าจริงๆ  และยอมรับว่าบางทีเราก็ละเลยมันไปมาก ถึงแม้จะรู้ว่ามันเป็นสิ่งสำคัญ
Tumblr media
------------------------------------------------------------------------------------------ 
“ในธุรกิจ การสร้างความประทับใจแรกกับลูกค้า คือสิ่งที่สำคัญมาก แม้ทุกคนจะรู้เรื่องนี้ดีแต่ หลายบริษัทก็ยังไม่ใส่ใจ อย่างดีที่สุดก็ทำได้แค่พอใช้เท่านั้น สิ่งที่คนไม่เข้าใจก็คือ ในโลกที่ลูกค้าทำธุรกรรมจำนวนมากทางอินเทอร์เน็ต ความประทับใจครั้งที่ 2 ต่อ แบรนด์จะยิ่งสำคัญกว่าความประทับใจครั้งแรกเสียอีก  การพูดคุยกับลูกค้าในครั้งที่ 2 ของลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตกับธุรกิจของคุณส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวกับข้อผิดพลาด บางสิ่งบางอย่าง นั่นก็คือปัญหาที่ลูกค้าพบเจอในการใช้บริการ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณ เพราะฉะนั้นคุณจะต้องจัดการอย่างถูกต้อง  นี่คือโอกาสที่บริษัทจะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืม ให้กับลูกค้าได้ แต่น่าเสียดายว่ามันคือจุดที่ส่วนใหญ่แล้วจะผิดพลาดอย่างมหันต์  
หนึ่งในความผิดพลาดที่ผมได้เห็นบ่อยๆ คือการใส่หมายเลขโทรศัพท์ของฝ่ายบริการลูกค้าไว้ในที่ลึกลับ มองเห็นยากที่สุดของเว็บไซต์”
“เว็บไซต์ของบริษัทส่วนใหญ่ก็ได้รับการออกแบบมาให้น่าหงุดหงิด และสร้างความประทับใจครั้งที่ 2 ในเชิงลบได้อย่างดีพอกัน ยกตัวอย่างเรื่องการลงทะเบียน การที่ธนาคารให้ผู้ใช้ต้องกรอกรหัสผ่าน และชื่อเมื่อใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีเหตุผล แต่มันเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับการซื้อถุง เท้าคู่เดียว แม้ขั้นตอนการลงทะเบียนจะเป็นเครื่องมือสำคัญนการเก็บรายละเอียดชื่อสำหรับส่งข่าวสาร แต่ถ้าทำให้ลูกค้าต้องหงุดหงิด คุยจะทำไปทำไม” 
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปัจจุบันเว็บไซต์หลายแห่ง อาจมีปุ่ม contact us / feedback ไว้เพียงทำให้มันครบๆ ตามแบบที่มันควรจะมีตามมาตรฐานเว็บไซต์ทั่วไป แต่ไม่ได้เข้าใจว่าปุ่มหรือฟังก์ชั่นต่อมาที่จะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี หรือความประทับใจในการแก้ปัญหาเบื้องต้น  อาจสร้างปัญหาที่มากขึ้น เพราะกลายเป็นว่าเมื่อ เค้าไม่สามารถตัวช่วย หรือคำปรึกษาจากผู้ให้บริการได้ ทางออกหนึ่งของลูกค้าขี้หงุดหงิด และอารมณ์เสียก็คือการไปโพสข้อความระบายบนเว็บบอร์ด หรือ โซเชี่ยล มีเดีย ซึ่งจะทำให้ปัญหาเพียงเล็กน้อยดูใหญ่โต ลุกลาม และเป็นภาพพจน์ที่ไม่ดีของบริการ หรือผลิตภัณฑ์ของเราได้  
ทางที่ดีเราควรออกแบบ การติดต่อกลับจากลูกค้า โดยดูจากการบริการที่เรามี ปัญหาที่ลูกค้าพบเจอได้บ่อยๆ  และควรให้คำปรึกษาในแบบที่เป็นลักษณะของการให้บริการการช่วยเหลือ มากกว่าที่จะมีแพทเทินการตอบ โดยลักษณะเหมือนหุ่นยนต์ ซึ่งผู้ใช้บริการจะไม่ได้รับความรู้สึกที่แสดงออก ถึงการช่วยเหลือและให้บริการจากเต็มที่จากเราเลย
ลองพยายามหาสิ่งที่ดีที่สุดในการบริการลูกค้าดูนะครับ  ^__^
“see from the customer side”
0 notes
sarutc · 9 years
Photo
Tumblr media
คืนนั้นคืนไหน ใจแพ้ตัว คืนและวันอันน่ากลัวตัวแพ้ใจ ท่ามกลางแสงสีศิวิไลซ์ อาจหลงทางไปไม่ยากเย็น คืนนั้นคืนไหน ใจเพ้อฝัน คืนและวันฝันไปไกลลิบโลก ดั่งนกน้อยลิ่วล่องลอยแรงลมโบก พออับโชคตกลงกลางทะเลใจ
0 notes
sarutc · 9 years
Photo
Tumblr media
เราคงเป็นดั่งเรือน้อยลำหนึ่ง ในทะเลแห่งชีวิตกว้างใหญ่ ฟ้าคลื่นลมซัดมาก็หวั่นไหว ในใจมีแต่จุดหมายคือฝั่ง มันจะไกลสักเพียงไหนต้องไป แม้ว่าในหัวใจ ไม่มีใครเลย
0 notes
sarutc · 9 years
Text
1 line bash command to aggregate data
Problem :  there's a number of connection generated every 5 minute. Find Max number in each hours on specific day in 
Example Log files generate by crontab every 5 Minute is "192 connections @23:55:01 02-03-2015"  
on linux system you can use great tools like egrep to do this in a few minute the command look like this : 
#  date='27-02-2015' ; for i in {14..17}; do      cat /var/log/scripts/connection_counts.log  | egrep "$date" | egrep "\@${i}:*" | sort  -nk 1 -r | head -n 1 ; done | awk '{print $1" "$2" "$3" "$4  ;sum+=$1} END {print sum}'
1) date='27-02-2015' <- define variable date for pick a day we need
2) for i in {14..17} or for i in `seq 1417`  <- loop and assign value of ${i}
  2.1)  cat /var/log/scripts/connection_counts.log <- echo all line of data   2.2)  egrep “$date"     <-  filter data by date variable    2.3)  egrep "\@${i}:*"  <-filter data by ${i} which is hours time // you can merge filter condition in 2.2 and 2.3   2.4) sort -nk 1 -r         <-  sorting first column by number and reverse sort largest number to smallest number  2.5) head -n 1             <- pick the max number  2.7) awk '{print $1" "$2" "$3" "$4  ;sum+=$1} END {print sum}'  <- print max number of each hours and finally summary the number
^___^  
ps. the count connection command is `netstat -na | grep "EST" | wc -l`
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
0 notes
sarutc · 10 years
Text
10 books
   The Mobile Mind Shift   หนังสือที่จะสอนให้องค์กรปรับโครงสร้าง วิธีการทำงาน ให้เข้ากับยุค smart phone  โดยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้ smart phone ในบริบทต่างๆ ที่จะสามารถผูกติดกับกิจกรรม , สินค้า หรือ บริการขององค์กรได้ โดยจะเสนอแนวคิดเรื่อง IDEA (Identify , Design , Engineer , Analize)  ในการออกแบบ และจัดการโครงสร้างและวิธีการทำงานขององค์กร เพื่อตอบโจทย์ ผู้ใช้ที่กำลังเข้าสู่ยุคอุปกรณ์พกพา  แค่บทแรกๆ ที่อ่านก็โดนละ เราคำนึงแต่เรื่องการยัด ฟีเจอร์ต่างๆ มากมายเพื่อให้ User รู้สึกว้าว แต่ไม่ได้คำนึงถึงบริบท ความเรียบง่ายในการทำให้ User ได้รับบริการแบบฉับพลัน และเกิดความรู้สึกผูกติดอยู่กับ  APP ของที่เราพัฒนาขึ้น จนอยากจะกลับมาใช้งาน ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เวลาเราทำ แอพในมุมมอง Dev เราก็อยากโชว์ฟังก์ชั่น , อัลกอริทึมเท่ห์ ๆ ซึ่งบางทีไม่ได้ช่วยอะไรคนใช้เลย แถมยังสร้างความสับสน มึนงง เข้าไปอีก (ยังอ่านไม่จบ)
Tumblr media
เพชรพระอุมา  ภาคแรก นวนิยายแนวผจญภัยบุกป่าฝ่าดง เขียนโดย “พนมเทียน”    อ่านสนุกวางไม่ลงตอนที่อ่านหนังสือจะแบ่งเป็นตอนๆ ตอนนึงจบใน 4 เล่ม รวมๆแล้วน่าจะมี 20 เล่มขึ้น  จนจบภาคแรก ส่วนภาคสองสนุกสู้ภาคแรกไม่ได้ แต่จำนวนเล่มน่าจะพอๆ กัน หนักไปทางอภินิหารเยอะไปหน่อย  เดี๋ยวจะหาจังหวะเหมาะๆ กลับมาอ่านอีกครั้ง
Tumblr media
มังกรคู่สู้สิบทิศ  ครบสูตรนิยายจีนกำลังภายใน โค่วจง , ฉีจื่อหลิง  สองพระเอกอาภัพตอนเด็ก บุญพาวาสนาส่ง ให้ได้ฝึกวรยุทธ์  บังเอิญสำเร็จยอดวิชา แล้วไปช่วยหลี่ซื่อหมิง ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ ความยาวก็ประมาณ 21 เล่มถ้าจำไม่ผิด  เป็นบทประพันธ์ของ หวงอี้  ที่ก่อนหน้านั้นโด่งดังมาจาก เจาะเวลาหาจิ๋นซี  แนวนี้ที่ชอบ อีกเล่มก็ กระบี่เย้ยยุทธจักร  ของกิมย้ง 
Tumblr media
Revolutionary wealth (ความมั่งคั่งปฎิวัติ เล่มแปลไทย) เขียนโดย อัลวิน ทอฟเลอร์ และเมีย (จำชื่อไม่ได้)  หนังสือแนวอพยากรณ์ อนาคต โดยกรั่นกรองจากข่าว , งาน research , การสัมภาษณ์ ของผู้บริหาร ทำให้ผู้เขียนสามารถทำนายอนาคต (ปัจจุบันนี้เนี่ย)​ได้ค่อนข้างแม่นยำ  เล่มนี้ เป็นเหมือนพวก technoloty and trend หรือ hype ต่างๆ เท่าที่จำได้ ยกตัวอย่างซักเรื่องสองเรื่อง  เช่น  ศำนิยามของ Procumer คือการเอาคำของ ผู้ผลิต , ผู้บริโภค มารวมกัน โดยในหนังสือบอกว่าในอนาคติ เราจะเห็นว่า ผู้บริโภคทำตัวเป็นผู้ผลิต ผลิตงานเอกใช้เอง จนรวมถึงเผยแพร่ให้กับคนอื่นๆ ทุกวันนี้เราจะเห็นสังคมแบบนี้เห็นได้ชัด ผ่านทาง Youtube channel ค่อนข้างเยอะ  นั่นเป็นเพราะ คนธรรมดาทั่วไป มีช่องทางให้นำผลงาน หรือผลผลิตของตัวเองออกมาแสดงผ่านช่องทางอื่นๆ ได้อย่างอิสระ    นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ truth filter  (ตัวกรองความจริง)  ซึ่งหมายถึงคนในปัจจุบัน จะใช้ตัวกรองความจริง​ (เชื่อว่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นความจริง โดยไม่มีข้อสงสัย)  โดยผ่านคนที่เราให้เคารพ , นับถือ หรือเป็นไอดอล ของคนๆ นั้นๆ เมื่อก่อน ตัวกรองความจริง อาจมีแค่  ศาสดา ที่ประกาศคำสอนของศาสนาต่างๆ หรือผู้นำชนเผ่า แต่ทุกวันนี้ ตัวกรองความจริงเล่านี้ เป็นได้แม้กระทั่ง เพื่อนสนิท , ดาราที่เราติดตาม , fanpage , เจ้าของกระทู้ หรือ blogger ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมการเชื่อตามๆ กันโดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง ถึงแม้ว่าความจริงทีว่าจะพาเข้ารกเข้าพง  เราก็จะไม่ได้รู้สึกผิดอะไรเพราะ สามารถใช้คำว่า ใครๆเค้าก็ทำ อันนี้น่าจะเห็นได้ชัดในสังคมปัจจุบัน อีกอันที่ชอบมากๆ คือเรื่องของความรู้ต่างๆ ที่จะบิดตัว , รวมตัวเข้าหากัน เพื่อทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ไม่สิ้นสุด รวมถึงยุคแห่งการใส่ใจในสุขภาพส่วนตัว  หนังสือดี แนะนำให้อ่านนะกันครับ  เล่มนี้ยังอ่านไม่จบ ส่วนงานอื่นของผู้เขียนเรื่องนี้ ลองหาอ่านงานเก่าๆ อย่าง Future shock , Third Wave  ก็ได้ครับจะเห็นภาพการเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรม ,​อำนาจ และเงินตรา , และวิถีชีวิตของผู้คน ไล่ตั้งยุคการล่าอาณานิคม เพื่อให้ได้มาเพื่อพื้นที่ , แรงงาน เพื่อทำการเกษตร , การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรม และมาในยุคของโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร 
Tumblr media
HTTP  When Every Web Developer Should know About the Hypertext Transfer Protocol  บางทีก็ต้องกลับมาอ่านอะไรที่พื้นฐานๆ บ้าง บางปัญหาที่ขบมานานอาจจะคลี่คลายได้  ทุกวันนี้ยังจำ status code ของ HTTP  ไม่ครบทุกตัว กับพวก Cache model  นี่ก็ยังมึนๆอยู่ถ้าต้องอธิบายให้ใครฟัง 
Tumblr media
Hacker’s Delight  อารมณ์เหมือนอ่าน ดิจิตอลเทคนิค +  Computer Organization
Tumblr media
The Nagative by Ansel Adams หนังสือขึ้นหิ้งของช่างภาพ (แต่เราเป็นช่างคอม ช่างอย่างรู้อยากเห็น) อ่านแล้วเปิดโลกเรื่องการวัดแสง  การใช้ zone system สำหรับการวัดแสง  จริงๆ จะมีเรื่อง The camera  , ​The Print ด้วย  ครบ Process เลยแต่ยุคดิจิตอล เอาแค่เล่มนี้ก่อน เน้นๆ 
Tumblr media
พันธ์หมาบ้า ของชาติ กอบจิตติ  ช่วงที่อ่านภาพ พงษ์พัฒน์ เป็นออตโต้ และ อำพลเป็น ทัย นี่ชัดเจนมาก 
Tumblr media
หนังสือชุดให้กำลังใจ ทุกเล่มของ วิน เลียววารินทร์   เช่น ความฝันโง่ๆ , เบื้องบนยังมีแสงดาว , อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก , คำที่แปลว่ารัก , สองปีกของความฝัน , ฯลฯ อ่านเอง  เวลาท้อ  หมดไฟ กำลังใจไม่มา  ทะเลาะกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง เบื่อๆ อยากๆ กับชีวิต หรือจะส่งต่อให้คนอื่น ก็ดีช่วยเปิดมุมมอง ทัศนคติดีๆ มากมาย ในเล่มต้องมีซักเรื่องที่โดน
Tumblr media
Stone Soup : making something significant by accumulating lots of small contributions 
Tumblr media
ยิ่งแก่ยิ่งซื้อหนังสืออ่านเยอะ  แต่เวลาอ่านกลับน้อยลงทุกที 
1 note · View note
sarutc · 10 years
Text
Buy button coming soon
facebook เริ่มทดสอบปุ่ม Buy สำหรับ ads และโพสของหน้าเพจ โดยจะเลือกเพจของกลุ่มธุรกิจ บางส่วนมาทดสอบ โดยปุ่ม Buy จะทำให้ผู้ใช้งาน สามารถสั่งซื้อ สินค้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องออกจาก news feed ไปยังเว็บไซท์ของร้านค้า twitter ซื้อบริษัท Card Springs ที่มีระบบรับชำระเงิน เพื่อนำมาใช้กับการทำ e commerce บนแพลตฟอร์ม Twitter โดยใน feed ของ Twitter จะมีปุ่ม Buy now เพิ่มเข้าไปด้วย นักวิเคราะห์ จาก Gartner ระบุว่าทั้งสองรายพยายามที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม , และให้ความสะดวกสบายแก่ ผู้ซื้อ และผู้ขาย ซึ่งจะทำให้ทั้ง Facebbok และ Twitter สามารถรวบรวมฐานข้อมูลบัตรเครดิต ของผู้ใช้ไว้ได้ ขณะที่นักวิเคราะห์ บางรายเชื่อว่าทั้งสองแพลตฟอร์มเป็น พื้นที่ ที่ผู้ใช้เข้ามาอ่านข้อมูล และอัพเดทข่าวสาร การใส่ปุ่ม Buy เข้าไปเพื่อเปลี่ยนผู้อ่านเป็นผู้ซื้ออาจไม่ประสบความสำเร็จโดยอ้างว่า Facebook เคยล้มเหลวมาแล้วจากการสะสม credit แล้วแลกของขวัญจาก Facebook Gift ซึ่งหากปุ่ม Buy ไปอยู่บน feed ของ Pinterest ดูน่าจะประสบความสำเร็จมากกว่า
0 notes
sarutc · 10 years
Text
delta differencing
delta differencing หมายถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ทีละนิด เฉพาะข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง ใน block ของ storage หลังจากการทำ full backup ครั้งแรก ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจะถูกบันทึกลงใน log file ที่ชื่อว่า delta สิธีนี้เป็นการช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล , จัดการพื้นที่ storage ให้ใช้อย่างประหยัด และยัง recovery ข้อมูลกลับได้รวดเร็วดี
0 notes
sarutc · 10 years
Text
Facebook จะลดความสำคัญ ของโพสดังต่อไปนี้
จากปัญหาที่มีปริมาณข้อมูลข่าวสาย บน news feed มากเกินจำเป็นและ facebook มองว่าเป็นการ spam content และยูสเซอร์ไม่ได้รับ content ตามที่ตัวเองต้องการจริงๆ facebook จึงแบ่งกลุ่ม content หรือเรื่องราวที่ถือว่าเป็น spam เป็นกลุ่มดังนี้ 
Like-baiting หลอกล่อให้ กด like , share , comment เพื่อกระจายโพสนี้ เช่นโพสถามหรือโหวต ว่าถ้าชอบกด like ถ้าไม่ชอบกด comment เป็นต้น ซึ่งเป็นผลทำให้ content นั้นถูกกระจายไปบน news feed ของคนอื่นๆ โดยธรรมชาติ ผิดวิสัยของการกด like , share และ comment บนความสนใจเนื้อหาอย่าง��ท้จริง  
Tumblr media
เนื้อหาที่ถูกใช้ วนซ้ำไปซ้ำมา บ่อยเกินไป  บางรูปอาจจะเป็นรูปเก่าที่เคยถูกอัพโหลดเข้ามาแบบ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งยูสเซอร์มักจะกดซ่อนเนื้อหาของ Pages นั้น และ facebook ��ะลดความสำคัญของ Pages  นั้น ซึ่งช่วยให้ยูสเซอร์ ได้รับเรื่องราวเล่านั้นลดลง 10% (เจ้าของ Page ที่ผลิตเนื้อหาเล่านั้นเอง เป็นต้นฉบับจะไม่เจอปัญหานี้)
Spammy Links เนื้อหาที่ link ไปไม่ตรงเช่นแทนที่จะ link ไปยังอัลบั้มภาพที่เขียนในเนื้อหา กลับ link ตรงไปเปิดโฆษณา โดยเฟสบุ๊คจะตรวจสอบจากความถี่ในการ like & share ของยูสเซอร์  หลังจากทดลองพบว่าผู้คนกล้าที่จะกด link ออกจาก facebook เพิ่มขึ้น 5%  (นักการตลาดที่สร้าง link ออกไปยังเว็บไซต์ที่ถูกต้อง จะไม่ได้รับผลกระทบจากการอัพเดท
Ref   Facebook for business news
0 notes
sarutc · 10 years
Text
เวลาทอง ของการโพส ทวิตเตอร์ , เฟสบุ๊ค , อีเมล์ (newsletter)
ทวิตเตอร์ (Twitter)
เวลาทอง 4-6 โมงเย็น  จำนวน Retweet จะสูงสุดตอน 5 โมงเย็น
อยากให้คนคลิก link  ที่โพส หนึ่งชั่วโมงต้องมี 4 Tweet
วันพุธ , เสาร์ , อาทิตย์ เป็นวันที่ดีสำหรับการ Tweet
เวลาทองคือช่วงพักเที่ยง และหกโมงเย็นคนจะคลิกลิงค์ที่โพส มากสุด
สม่ำเสมอตามช่วงเวลาทอง
เฟสบุ๊ค (Facebook)
กดแชร์มากสุด วันเสาร์
กดแชร์มากสุด ตอนเที่ยง หลังหนึ่งทุ่ม
2 วันโพสที จะเรียก page like ได้ดีที่สุด
อีเมล์​
สี่ทุ่ม - หกโมงเช้าวันทำงาน dead zone ไม่ค่อยจะมีคนเปิดอ่าน
หกโมงเช้า - สิบโมงเช้า ส่งเมล์หาลูกค้าช่วงนี้ดี
เที่ยง - บ่ายสอง  ส่งอัพเดทข่าว , หนังสือเหมาะสุด
ช่วงเย็น ตลาดหุ้นปิด ข้อมูลทางการเงินเป็นเมล์ที่ดี
วันหยุด (ศ,ส) ห้าโมง - สี่ทุ่ม โปรโมชั่น , สินค้าลดราคา จะถูกเปิดมากที่สุด
ref : kissmetrics blog
0 notes
sarutc · 10 years
Photo
Tumblr media
0 notes
sarutc · 10 years
Text
"Net neutrality" , "Fast lanes" ???
เห็นข่าวเรื่อง Net neutrality  ช่วงอาทิตย์ก่อน ค่อนข้างเยอะในเว็บไซท์ต่างประเทศ เลยลองไปนั่งค้นดู   แปะไว้เป็นความรู้ไว้ก่อนกันลืม   
1. “Net neutrality” ?
เป็นกฎของ FCC (เหมือน กสทช บ้านเรานี่แหละครับ เป็นหน่วยงานกำกับดูแล คลื่นความถี่ ของสหรัฐ) ที่ช่วยให้การใช้งานเครือข่ายมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าผู้ใช้ ผู้ให้บริการ จะใช้ข้อมูล หรือบริการใดๆ บนอินเทอร์เน็ต เปรียบเหมือนกับเสรีภาพของคนอเมริกันที่สามารถเดินทางข้ามไปมาระหว่างรัฐ 50 รัฐอย่างเสรี โดยไม่ต้องมีการขออนุญาต ไม่ต้องทำพาสปอร์ต   
  โดยเริ่มมีขึ้นประมาณปี 2010 แต่ปัจจุบัน FCC กำลังจะเปลี่ยนกฎของ Net neutrality นี้โดยอนุญาตผู้ให้บริการบอร์ดแบนด์ จัดเตรียมช่องทางพิเศษ (Fast lanes) ที่จะรับประกันความเร็วในการบริการ Content จากบริษัทที่จ่ายเงินเป็นพิเศษ เช่น Netflix และ Youtube
  ก่อนหน้านี้ถ้ากลับไปไล่อ่านข่าวจะเห็นข่าว Netflix  (กุมภาพันธ์) ทำข้อตกลงในการจ่ายเงินให้กับ Comcast (ผู้ให้บริการบอร์ดแบนด์ในอเมริกา) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถรับชมวิดีโอได้อย่างรื่นไหล ไม่มีอาการสะดุด  และ ถัดมา Netflix ก็ทำข้อตกลงแบบเดียวกันกับ Verizon (เมษายน)  ซึ่งหลังจากจ่ายเงินแล้ว สมาชิกของ Netflix กว่า 67% ก็ได้รับบริการที่ดีขึ้น โดยวัดจากความเร็วเฉลี่ยที่เชื่อมต่อกับเซอร์เวอร์ของ Netflix  จากความเร็วระดับ 1.5M เพิ่มขึ้นเป็น 2.5M  และต่อมา FCC เข้าไปตรวจสอบข้อตกลงที่  Netflix ทำร่วมกับ ISP ซึ่งปรากฎว่ามันไปขัดกับกฎเรื่อง Net Neutrality ที่ FCC เคยประกาศไว้ (June)  จากนั้นก็มีข่าวว่า ISP รายใหญ่ ลดแบนด์วิธให้ช้าลง รายใหญ่ๆ ก็น่าจะมีพวก Comcast , Verizon , AT&T  พวกนี้  
  นโยบาย “Net Neutrality” ของ FCC มีข้อดียังไง ?
จากที่มีการแหกกฎ จาก Comcast และ Verizon เรื่องจัดการแบนด์วิธ ของบริการอย่าง skype , netflix ไปอยู่ในส่วน “Slow Lane” ซึ่งมีผลกระทบให้ผู้ใช้บริการ แต่ถ้าไม่ทำก็จะกลายไปกระทบกับแบนด์วิธรวมของคนใช้งานบริการอื่นๆ เหมือนกัน   
ทีนี้ถ้าเกิดกฎนี้มันถูกเปลี่ยนไปเป็นแบบที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทางด่วน สำหรับบางบริการจริงๆ  ผู้ใช้งานที่สนับสนุนกฎนี้ก็กลัวว่าจะทำให้การให้บริการอินเทอร์เน็ตกลายเป็น “two-tiered system” (ระบบสองมาตรฐาน) หรือแย่ไปกว่านั้น การให้บริการคอนเท้นต์บน อินเทอร์เน็ตก็คงซับซ้อนขึ้น เช่นจะซื้อเน็ท แล้วจะต้องซื้อแบบพ่วงแพคเก็จเพื่อใช้บริการอะไรบ้าง  และยังจะก่อให้เกิดการคุมกำเนิดบริษัทเกิดใหม่ ทางอ้อม เพราะบริษัทเปิดใหม่ อาจไม่มีปัญญาจ่ายเงินให้บริการตัวเอง ถึงผู้ใช้ผ่าน fast lane ลองนึกภาพว่าหากเราเป็นผู้ประกอบการราายใหม่ คิดบริการเจ๋งๆ เพื่อให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  รู้จักกับ FCC ให้มากขึ้น
อย่างที่บอกว  FCC ก็เหมือน กสทช บ้านเรานี่แหละครับ เป็นองค์กรอิสระ  ที่จะกำกับดูแลด้านการสื่อสารทั้งหมดของประเทศ พวก วิทยุ ,​ทีวี , เคเบิล , ดาวเทียม , สายโทรศัพท์  ,สัญญาณความถี่ไร้สาย  นี่ลูกพี่เค้าดูแลอยู่ โดยปีนี้ FCC เข้มเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั้งแบบสาย และไร้สาย ซึ่งจะต้องควบคุมให้มีการแข่งขัน ,​มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และมีความหลากหลายของสื่อที่จะเข้าสู่ความสนใจของประชาชน  FCC มีความเป็นอิสระมาก ทำเนียบขาวก็ไม่สามารถสั่งให้ FCC หันซ็ายหันขวาได้ นะครับ  
  การจัดการองค์กรของ FCC
FCC จะมีคณะกรรมการห้าคน อยู่ในตำแหน่ง 5 ปี ถูกเสนอชื่อโดยวุฒิสภา และแต่งตั้งโดยประธานาธิปดี  โดยหนึ่งในนั้นจะเป็นประธานกรรมการ ซึ่งจะกำหนดวาระการประชุมของ FCC  ซึ่งปัจจุบัน คือนาย Tom Wheeler จาก Democrat อดีตผู้ร่วมทุนของผู้ให้บริการรายใหญ่ด้านเคเบิล และไวร์เลส  ส่วนอีก 4 คนในคณะกรรมาธิการคือ Mignon Clyburn , Jessica Rosenworcel , Ajit Pai , Michael O’Rielly
  5. Paid prioritization  เอกสารร่างของกฎใหม่ที่ยอมให้ผู้ให้บริการบอร์ดแบนด์ สามารถทำข้อตกลงพิเศษกับบริษัทอินเตอร์เน็ท เพื่อสิทธิพิเศษใดๆ โดยกรรมการมีมติ 3-2 ผ่านร่างกฎใหม่นี้ รอประชาพิจารณ์
  6. ทำไมคนที่สนับสนุน net neutrality ถึงไม่พอใจอย่างมาก ?  
บารัก โอบาม่าเคยประกาศไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งว่าจะทำให้แน่ใจว่ามีความเท่าเทียมกันในการให้บริการคอนเท็นต์ออนไลน์  และคนที่เป็นฐานเสียงตอนนั้น อาจจะเลือกเค้าเข้ามาด้วยนโยบายเรื่องนี้ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นว่าคนที่โอบาม่า แต่งตั้งมาเป็นกรรมการ FCC กลับทำสิ่งตรงข้าม  
ไว้เดี๋ยวติดตามต่อว่าสุดท้ายจะจบยังไง
http://kickstarter.tumblr.com/post/91363896403/kickstarter-was-built-on-the-foundation-of-an-open  อันนี้ลองดู ตัวอย่างเว็บที่ออกมารณรงค์เรื่อง net neutrality อันนี้เป็นของ kickstarter ที่บอกว่าบริการของตัวเองเกิดมาได้บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในการใช้งานเครือข่าย  อินเทอร์เน็ต 
0 notes